ทำไม กบข.ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนของค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้สิทธิดีกว่า สปส ที่ถูกหัก 1.5% ออกจาก 5% ที่จ่ายสมทบล่ะ? –

ทำไม กบข.ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนของค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้สิทธิดีกว่า สปส ที่ถูกหัก 1.5% ออกจาก 5% ที่จ่ายสมทบล่ะ? –

http://www.ausiris.co.th/content/index/blog/blog-0135.html

ทำไม กบข.ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนของค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้สิทธิดีกว่า สปส ที่ถูกหัก 1.5% ออกจาก 5% ที่จ่ายสมทบล่ะ? –

“จะได้อะไรบ้างจาก กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันสังคมในยามเกษียณ

11 Apr 2024 | เมื่อ 01:55 น.


ทำไม กบข.ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนของค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้สิทธิดีกว่า สปส ที่ถูกหัก 1.5% ออกจาก 5% ที่จ่ายสมทบล่ะ? –

เคยสงสัยกันไหมว่า เงินเดือน ที่โดนหักเข้า กองทุนกบข. (กรณีที่เป็นข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(กรณีที่เป็นพนักงานเอกชน) ทุก ๆ เดือนนั้น เขาเอาไปทำอะไรบ้าง? และจะรู้ได้อย่างไรว่า เงิน ในกองทุนนั้นมีมากพอสำหรับใช้จ่ายในยามเกษียณหรือไม่? และกองทุนของข้าราชการและเอกชนจะมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน?

ข้าราชการ จะมี กองทุนบำเหน็จบำนาจข้าราชการ (กบข.) เป็นระบบการออมเพื่อให้สมาชิกเตรียมเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ โดยตามกฎหมายกำหนดให้สมาชิกส่งเงินเข้ากองทุนร้อยละ 3 ของเงินเดือนทุกเดือน แต่สามารถเพิ่มเงินเข้ากองทุนได้เองตามสมัครใจ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน  ซึ่งจะเรียกเงินนี้ว่า “เงินสะสม” (หักจากเงินเดือน) โดยรัฐบาล (นายจ้าง) จะจ่ายสมทบให้เพิ่มอีกร้อยละ 3 เรียกว่า “เงินสมทบ” (นายจ้างจ่ายสมทบให้) ข้าราชการที่เข้าร่วมกองทุนนี้จะเรียกว่า “สมาชิก กบข.”

ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นทำงาน ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท หักจากเงินเดือนตามกฎหมายร้อยละ 3 = 450 บาท, ออมเงินเพิ่มเองอีกร้อยละ 10 = 1,500 บาท, เงินสมทบร้อยละ 3 = 450 บาท  รวมแล้วจะโดนหักเงินเข้ากองทุนเดือนละ  450+1,500+450 = 2,400 บาท/เดือน ในปีแรก

หากผลตอบแทนกองทุนโดยเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 5% และหากอัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 5% ถ้าออมแบบนี้ตั้งแต่อายุ 25 ปีจนถึงอายุ 60 ปี(คิดผลตอบแทนแบบดอกเบี้ยทบต้น) จะทำให้มีเงินเก็บในกองทุน กบข. ทั้งหมด 6,004,955 บาท

แต่หากคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 2 ต่อปี เงินประมาณ 6 ล้านบาทในอีก 35 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านบาทที่เทียบเท่าปัจจุบัน

ส่วนจะได้ผลตอบแทนการลงทุนกี่ % ต่อปี ก็ขึ้นอยู่กับ แผนการลงทุน หรือสัดส่วนการลงทุน แผนผสมหุ้นทวี ที่เน้นลงทุนในหุ้นมากกว่า, แผนตลาดเงิน ที่เน้นลงทุนในเงินฝาก, แผนสมดุลอายุ เน้นลงทุนให้เหมาะสมกับอายุ 60,65,70 ปี เป็นต้น

โดยสมาชิกจะได้รับเงินจากกบข. เป็นเงินก้อน และยังได้เงินบำเหน็จ บำนาญ อีกส่วนหนึ่งต่างหาก

ส่วน ลูกจ้างประจำ เป็นบุคคลากรในหน่วยงานราชการอีกประเภทหนึ่ง มีบทบาทคือสนับสนุนงานในส่วนราชการต่าง ๆ จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำของส่วนราชการ หรือ กสจ. คล้าย ๆ กับ กบข. ซึ่งจะต้องส่ง “เงินสะสม” (หักจากเงินเดือน) และ “เงินสมทบ” (นายจ้างจ่ายสมทบให้) เข้ากองทุนเหมือนกัน เมื่อเกษียณจะได้รับเงินส่วนนี้เช่นเดียวกัน และยังได้เงินบำเหน็จลูกจ้าง (บำเหน็จปกติ หรือ บำเหน็จรายเดือน) อีกส่วนหนึ่ง

ส่วน พนักงานราชการ หรือ ลูกจ้างชั่วคราว คือ เจ้าหน้าที่ที่ทางหน่วยงานราชการจ้างมาทำงานอีกที ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสังกัดหน่วยงานรัฐโดยตรง มีสัญญาการทำงานทุก ๆ 4 ปี ไม่มีกบข.เหมือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ แต่จะมีกองทุนประกันสังคม ที่มีบำเหน็จ และบำนาญชราภาพให้

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสูงสุดได้เพียง 750 บาทต่อเดือน (เงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป)

สิทธิ์สูงสุดที่ผู้ประกันตนจะได้จาก บำนาญชราภาพก็คือ เดือนละ 7,500 บาท คือกรณีที่เราได้ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายตั้งแต่ 15,000 ต่อเดือนขึ้นไป และจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 35 ปี จะได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ถ้าจำนวนปีที่จ่ายสมทบน้อยกว่านี้ ก็จะได้อัตราลดหลั่นลงไปกว่านี้

แต่ถ้าผู้ประกันตน สมทบหรือส่งประกันสังคมมาไม่ถึง 180 เดือนหรือ 15 ปี ก็จะได้เป็นเงินก้อน หรือ บำเหน็จ ไม่ได้เป็นบำนาญ

ส่วนพนักงานองค์กรเอกชน จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เปิดให้ลูกจ้างหรือพนักงานออมเงินเพื่อเอาไว้ใช้ในยามเกษียณ คล้าย ๆ  กองทุน กบข. ที่มี “เงินสะสม “ (หักจากค่าจ้าง) หักจากเงินเดือนทุกๆ เดือน ในอัตรา 2-15 % (เพิ่มเงินเองได้ตามความสมัครใจ) และ “เงินสมทบ” (นายจ้างจ่ายสมทบให้) ที่นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่ต่ำกว่าที่ลูกจ้างจ่ายไป เช่น ลูกจ้างเงินเดือน 15,000 บาท , ส่งเงินเข้ากองทุน 10% (1,500) ดังนั้นนายจ้างต้องสมทบให้ไม่ต่ำกว่า 10% (1,500) ทำให้ทุกเดือนจะมีเงินสมทบเข้ากองทุน 3,000 บาท ในปีแรก

หากผลตอบแทนกองทุนโดยเฉลี่ยของกองทุนต่อปีเท่ากับ 5% และอัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 5% ถ้าออมแบบนี้ตั้งแต่อายุ 25 ปีจนถึงอายุ 60 ปี(คิดผลตอบแทนแบบดอกเบี้ยทบต้น) จะทำให้มีเงินเก็บในกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ทั้งหมด 7,506,194 บาท

แต่หากคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 2 ต่อปี เงินประมาณ 7.5 ล้านบาทในอีก 35 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าประมาณ 3.75 ล้านบาทที่เทียบเท่าปัจจุบัน

ส่วนจะได้ผลตอบแทนการลงทุนกี่ % ต่อปี ก็ขึ้นอยู่กับ แผนการลงทุนที่เราเลือกอีกเช่นกัน (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรา ไปลงทุนในกองทุนประเภทไหน)

เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่มาจากเงินเดือนของสมาชิก) จะได้รับทุกกรณีเช่น เกษียณอายุ, ลาออก, เสียชีวิต หรือโอนย้ายกองทุน

ส่วนเงินที่มาจากการสมทบของนายจ้าง และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบของนายจ้าง จะได้เงินออกมาเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนปีในการทำงาน เช่น ทำงาน 1-5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบ 50% ทำงาน 10 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบ 100%

ในกรณีที่ลาออก หรือเกษียณอายุ แต่ยังไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินก้อนนั้น ก็สามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้โดยติดต่อไปที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ดูแลกองทุนนั้นอยู่ เพื่อแจ้งระยะเวลาคงเงินที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดของทางกองทุนรวม ซึ่งในกรณี เกษียณอายุเราสามารถขอให้กองทุนทยอยจ่ายเงินให้เราเป็นงวดๆ คล้ายกับเงินบำนาญได้อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกองทุนและควรจะเช็คค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องว่าคุ้มค่าหรือไม่ด้วย..”

>>>คำถามคือ

1) ทำไมมีแต่ สปส เท่านั้นที่ถูกหักเงินสมทบเป็นค่ารักษาพยาบาล 1.5% ออกจาก 5% ที่สมทบร่วมกับกับนายจ้าง แต่กลับได้สิทธิรักษาพยาบาลน้อยกว่า กบข ทั้งที่ กบข ไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเลย เงินสมทบใน กบข จะกลายเป็นเงินออมยามเกษียณทั้งหมดใช่หรือไม่? หากไม่ใช่ กบข ถูกหักค่ารักษาพยาบาลกี่%?

2) นอกจาก ปชช คนทำงานจะต้องเสียภาษี และต้องจ่ายเงินประกันสังคมเป็นค่ารักษาพยาบาลฟรีๆ 1.5% ร่วมกับนายจ้างโดยไม่ได้เงินส่วนนี้คืนถ้าไม่ใช้สิทธิ สปส ยังให้สิทธิรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนที่ต่ำกว่าบัตรทอง แล้ว สปส กำลังจะให้ผู้ประกันตนมาใช้สิทธิบัตรทองแทนอีกด้วยงั้นหรอ? งงนิ

3) เงินชราภาพที่ สปส หักไว้ 3% ร่วมกับนายจ้างจ่ายสมทบอีก 3% ของมาตรา 33 ก็ถูก สปส ยึดไป โดย สปส ใช้คำนวณเงินชราภาพด้วยวิธีนับรวมมาตรา 33 และมาตรา 39 รวมกัน ทั้งที่มาตรา 39 มีฐานเงินเดือนต่ำกว่ามาตรา 33 ถึง 3 เท่า ได้อย่างหน้าตาเฉยมากอีกด้วย…

4) สรุปคือมีแต่ ปชช คนทำงานเท่านั้นที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลทุกเดือน 1.5% ร่วมกับนายจ้างอีก 1.5%ให้ สปส โดยไม่ได้เงินส่วนนี้คืน แต่กลับได้สิทธิรักษาพยาบาลที่ต่ำกว่า กบข และบัตรทอง อีกด้วยใช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?